การกลับมาของ Daytona (Loki)
- warinyupha somtrakoon
- 4 วันที่ผ่านมา
- ยาว 1 นาที
อัปเดตเมื่อ 1 วันที่ผ่านมา
เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2025 Rolex ได้ปล่อยภาพ Model ใหม่ และหน้าปัดใหม่มาให้ชมกันหลากหลายรุ่น หนึ่งในนั้นคือ Daytona Yellow Gold Green Dial ซึ่งก่อนหน้านี้ เคยมี Daytona ที่หน้าตาแบบเดียวกันเคยวางขายและหยุดผลิตไปแล้วเมื่อปี 2023 (Ref.116508) ส่งผลให้ราคาและความนิยมพุ่งสูงขึ้นไปอีก เรียกได้ว่านาฬิกาหน้าปัดสีสะดุดตานี้ ยังคงอยู่ในกระแส จนมีชื่อเล่นติดปากที่คนเรียกกันว่า Loki

หลังจากผ่านไปสองปี หน้าปัดสีเขียวก็ได้กลับมาให้เราได้เห็นกันอีกครั้ง พร้อมกับการปรับลุคใหม่ทั้งภายนอกและภายในตัวเครื่อง วันนี้เราจะมาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง Daytona Green Dial รุ่นเก่า (Ref.116508) และรุ่นใหม่ (Ref.126508) กันค่ะ

มาเริ่มกันที่หัวใจสำคัญของนาฬิกา เดิมที Daytona Green Dial รุ่นเก่า (Ref. 116508) จะใช้ Caliber 4130 ซึ่งเปิดตัวพร้อมกับรุ่น Daytona ตั้งแต่ปี 2000
จนกระทั่ง Rolex ได้พัฒนา Caliber 4130 (Ref.116508) มาเป็น Caliber 4131 (Ref.126508) และเปิดตัวเครื่องใหม่ในปี 2023 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการฉลองครบรอบ Daytona 60 ปี

Caliber 4131 (ใช้ในรุ่นใหม่ Ref.126508) มาพร้อมกับระบบ Escapement ที่จดสิทธิบัตรของ Rolex เองที่เรียกว่า Chronergy escapement ซึ่งส่งพลังงานได้ดีกว่า Escapement แบบเก่า (ดีขึ้นประมาณ 15%) และยังทนต่อสนามแม่เหล็กได้ดีขึ้น พร้อมลดการสูญเสียพลังงานลง

โรเตอร์ ได้รับการออกแบบใหม่ให้เป็นแบบโปร่ง (Skeletonized) โดยใน Caliber 4130 (รุ่นหยุดผลิต Ref.116508) จะใช้โลหะธรรมดาที่มี 7 ball bearings แต่ใน Caliber 4131 (รุ่นใหม่ Ref.126508) โรเตอร์จะทำจาก Yellow Gold 18K และมี 22 ball bearings ซึ่งทำให้หมุนได้ลื่นขึ้นและไขลานได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังเพิ่มลวดลายแบบ Rolex Côtes de Genève ลงไปที่ส่วน Bridges

และอีกหนึ่งส่วนสำคัญที่ถูกเปลี่ยนคือ Shock Protection (ระบบกันกระแทก) จากเดิม Caliber 4130 (รุ่นหยุดผลิต Ref.116508) ใช้ Kif ซึ่งเป็นระบบกันกระแทกแบบมาตรฐาน แต่ใน Caliber 4131 (รุ่นใหม่ Ref.126508) ได้ถูกเปลี่ยนเป็น Paraflex ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเฉพาะของ Rolex ที่ดูดซับแรงกระแทกได้ดีกว่า


และสิ่งที่เหมือนเดิมก็คือ Caliber 4131 (รุ่นใหม่ Ref.126508) ยังคงเดินด้วยความถี่ 4Hz (28,800 ครั้งต่อชั่วโมง) มี power reserve 72 ชั่วโมเหมือนกับรุ่นก่อน balance system ยังเป็นแบบ free-sprung และความเที่ยงตรงแบบ Superlative Chronometer -2/+2 วินาทีต่อวัน column-wheel และ vertical clutch ยังคงเหมือนเดิม แต่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ การลดจำนวนชิ้นส่วนของกลไก
ตั้งแต่ Caliber 4030 ที่ใช้ปี 1988 (ซึ่งดัดแปลงมาจาก Zenith El Primero) ในรุ่น Daytona Ref.16520 และ Ref.116520 มีชิ้นส่วนประมาณ 278 ชิ้น
Caliber 4130 ปี 2000 ที่ออกแบบโดย Rolex เองในรุ่น Ref.116508 มีชิ้นส่วนประมาณ 201–220 ชิ้น
Caliber 4131 ปี 2023 ที่ใช้ในรุ่น Ref.126508 มีชิ้นส่วนประมาณ 190 ชิ้น
Rolex ลดจำนวนชิ้นส่วนลงเรื่อย ๆ โดยยังคงคุณสมบัติหลักทั้งหมดเอาไว้ ซึ่งเป้าหมายก็คือ การเพิ่มความทนทาน ความสเถียร และไม่จำเป็นต้องซ่อมมากเกินความจำเป็น

ไม่ใช่แค่กลไกภายในเท่านั้นที่ต่างออกไปจากเดิม แต่รูปลักษณ์ภายนอกของ Daytona รุ่นใหม่นี้ก็ได้รับการปรับแต่งเปลี่ยนลุคใหม่เช่นกัน เรามาสังเกตด้วยกันไปทีละจุดนะคะ





และทั้งหมดคือความแตกต่างทั้งหมดของรุ่น Ref.116508 และ Ref.126508 ที่ถูกพัฒนาขึ้นทั้งตัวเครื่องภายในและดีไซน์บนตัวเรือน ซึ่งหากมองให้ดีแล้วคงจะจับสังเกตกันได้ไม่ยากเลย
การกลับมาของอีกครั้งหนึ่งของ Daytona Green Dial ยังคงได้รับความสนใจจากเหล่าคนรักนาฬิกาอย่างล้นหลาม แม้ว่าจะหยุดผลิตไปนานถึงสองปีแต่กระแสก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะแผ่วลง พูดได้เลยว่าหน้าปัดสีเขียวสด ตัดกับตัวเรือนสีเหลืองทองก็ยังคงเป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ ของนักสะสมค่ะ
Comentários