สิ่งที่คุณต้องรู้ จริง ๆ เสียทีกับระบบ Serial Number ของ Rolex
เรื่องของซี่รี่ส์ (Series) เป็นอะไรที่เหมือนตราประทับคนซื้อ Rolex มานาน หลายคนสงสัยว่าทำไมจะซื้อ Rolex จะต้องมีคำถามเกี่ยวกับ Serial Number หรือ ซีรี่ส์ ทุกครั้งไป ลัดดาจะขออธิบายใส่ Note อีกทีเพื่อเป็นความรู้โดยคร่าว ๆ ในแบบ timeline นะคะ
1927 : Rolex ได้ประทับตรา Serial ลงไปบน Case ของ Rolex ที่ผลิตทุกชิ้นเป็นครั้งแรก มีความเชื่อกันว่า หมายเลขแรกไม่ได้เริ่มที่ 1 แต่เป็นหมายเลขประมาณ 20,000 1953 : ปรากฎว่า แค่เพียงถึงปี 1953 ตัวเลขก็วิ่งไปถึง 999,999 แทนที่ Rolex จะวิ่งเข้าสู่หลักที่ 7 หรือหลักล้าน แต่กลับตัดสินใจกลับไปเริ่มต้นใหม่แทน แถมแปลกตรงที่ว่าแทนที่จะเริ่มจาก 000001 หรือ 20,000 เหมือนเดิม ไม่รู้ Rolex คิดยังไง จากหลักฐานที่พอมี (เนืองจากไม่ได้มีการบันทึกไว้ใน log ของบริษัทเป็นเรื่องเป็นราวในสมัยนั้น) บอกว่าเขาเริ่มต้นใหม่ที่ประมาณหลัก 10,000 หรืออาจจะน้อยกว่านั้นเล็กน้อย
1953-1959 : ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น (ประมาณปี 1953-1959) Rolex ก็ได้นำระบบปั๊มวันที่ที่ฝาหลังตัวเรือนมาใช้ด้วยโดยการใช้เลขโรมันปั๊ม I,II,III,IV มาบ่งบอกไตรมาส (Quarter) และมีตัวเลข 2 หลัก ระบุเลขปี ค.ศ. ยกตัวอย่างเช่น III53 ก็คือนาฬิกาเรือนนั้นผลิตประมาณไตรมาสที่ 3 ของปี 1953 นั่นเอง 1960 : ระบบตัวเลข Serial ที่เริ่มใหม่เกิดเต็มถึง 999,999 อีกแล้ว ถึงจุดนี้ Rolex เลยตัดสินใจเข้าสู่หลักล้านเลย โดยเพิ่มตัวเลขหลักที่ 7 เข้าไป และวิ่งต่อโดยคาดว่าคงจะอยู่กันได้อีกยาว
1970 : Rolex เลิกใช้ระบบปั๊มตัวเลขฝาหลัง คงคิดได้ว่า Serial Number ที่สลักลงไปตรง Lug หรือ ขอบบนตัวเรือนที่มีสายบังอยู่มันก็ใช้ได้แล้ว แถมฝามันสลับกันได้อีก
1987 : ระบบ Serial Number หลักล้านก็วิ่งเต็มไปถึง 9,999,999 ทีนี้ Rolex เลยตัดสินใจใส่ตัวอักษรภาษาอังกฤษลงไปแทนหลักที่ 7 ซึ่งจะทำให้หลักที่ 7 เพิ่มขึ้นจาก 1-9 เป็น A-Z ที่มีตัวอักษรให้เลือกใช้ถึง 26 ตัวแต่ Rolex กลับไม่เรียงจาก A-Z แต่กลับใช้ ตัว R ขึ้นเป็นตัวแรก เพราะต้องการใช้ตัวอักษรสะกดตามยี่ห้อตนคือ R,O,L,E,X ให้ครบก่อน แต่ต้องตัดสินใจตัด O ทิ้งเพราะมันเหมือน 0 เกินไป ตัวเลขเลยออกมาเป็น R000001 แล้วพอถึง R999999 ก็ต่อด้วย L000001 ไล่ไปเรื่อย ๆ
1991 : เดือนพฤศจิกายน วันนั้นก็มาถึง เมื่อ Serial Number เดินทางมาถึง X999999 ครบ ROLEX แล้วนี่คะ ทีนี้หลักการอะไรก็ไม่ทราบแล้ว Rolex วิ่งต่อด้วยตัวอักษร N,C,S,W,T,U,A,P,K,Y,F,D,Z,M,V,G ซึ่งช่วงปี 1990 เป็นต้นมา Rolex ขายนาฬิกาได้ปีเป็นล้านเรือน คือใช้ตัวอักษรกันปีละตัวเลยค่ะ ถ้าตัวอักษรจะไปหมดกลางปีเขาก็จะขึ้นตัวอักษรใหม่เลย ดังนั้น ตัวอักษร Serial Number ระบบนี้จึงไม่ได้บอกปีผลิตของ Rolex แบบเป๊ะ ๆ นะคะ ได้แค่ประมาณช่วงเฉย ๆ
2010 : ไม่รู้เป็นเรื่องดีหรือร้าย Rolex ขายนาฬิกาได้ปีละล้านเรือน ตัวอักษรทั้งหมดจึงหมดลง (มีอักษรบางตัวไม่เคยถูกใช้ด้วยนะคะ) Rolex เตรียมการไว้แล้วจึงได้นำระบบ Random Series มาใช้ในช่วงปลายปี 2010 โดยมีหลักการไม่ซับซ้อนค่ะ Rolex จัดชุดตัวอักษรทั้งหมด 8 หลัก แต่ละหลัก สามารถเป็นตัวเลขหรือตัวอักษรภาษาอังกฤษก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น 5F28EDFK, 7876876F หรือแม้แต่ 99999999, AAAAAAAA แบบนี้ก็เป็นไปได้ค่ะ (แต่เชื่อว่า Rolex คงจะจองเลขพวกนี้ไว้ในระบบค่ะ) ด้วยความหลากหลายของตัวอักษรและตัวเลขผสมกัน 8 หลัก จะสามารถสร้างชุดตัวเลขที่แตกต่างกันได้ถึง 36 ยกกำลัง 8 (ตัวเลข 0-1 และตัวอักษร A-Z มาเรียงสลับกัน 8 ตัวไม่ซ้ำกัน) หรือประมาณ 2,821,109,907,456 รูปแบบ แต่ระบบนี้ Rolex จะไม่ใช่ O และ I เพราะมันจะทำให้สับสนกับเลข 0 และ 1 เลยเหลือแค่ 34 ยกกำลัง 8 แต่นั้นก็ยังเหลืออีกตั้ง 1,785,793,904,896 แบบให้ใช้อยู่ดี เรียกได้ว่า ต่อให้ Rolex ขายนาฬิกาได้ปีละล้านเรือนไปเรื่อย ๆ ก็ต้องใช้เวลาอีก 1.785 ล้านปี ตัวเลขชุดนี้ถึงจะถูกใช้หมดค่ะ ข้อเสียของระบบนี้คือทำให้มูลค่าของนาฬิกาที่มีตัวเลข Serial ที่สัมพันธ์กับปีหมดไป ยกตัวอย่าง หลายคนต้องการเก็บ Daytona Series A ก็คงจะไม่มีเรื่องแบบนี้ในโลก ยกเว้นจะไปเจอเลข Serial เบอร์ตอง หรือ เบอร์เรียง หรือเบอร์สวย ซึ่งมันก็นานาจิตตังค่ะ
แถมอีกนิดนึง Laser รูปมงกุฎ ที่กระจก กับการสลักขอบ Serial ด้านในกระจกที่ด้านล่างบริเวณเลข 6 ของหน้าปัด เริ่มตั้งแต่ Series F หรือประมาณปี 2003 นะคะ ถ้านาฬิกาปีเก่าว่านี้จะไม่มีกระจก Laser และถ้าจะดู Serial Number ต้องถอดสายมาดูตรงตัวเรือนที่ติดกับสายด้านบนค่ะ ถึงจะเห็น Serial number Laser ที่กระจก ปกติมันจะไม่ชัดเห็นได้ง่ายนะคะ เคยมีลูกค้าบอกว่า ถ้าเห็นชัดสลักลึกล่ะก็ให้สงสัยก่อนว่าไม่ใช่ของแท้ค่ะ
Credit : www.qualitytyme.net/-BHIJOQ–
Comments